โรคปอดฝุ่นหิน (Silicosis) หรือบางครั้งเรียกกันว่า โรคซิลิโคสิส เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าปนเปื้อนเข้าไปในปอด ทำให้ปอดอักเสบและเกิดเนื้อพังผืดขึ้น
งานที่เสี่ยงหรือหรืออาชีพที่เสี่ยง
อาการและอาการแสดงที่พบ
ในระยะแรก จะไม่มีอาการใดๆ แต่จะเห็นรอยโรคระยะแรกจากการฉายภาพรังสีทรวงอก ด้วยฟิล์มมาตรฐาน ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ 5 – 15 ปี จะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก หอบเหนื่อยเมื่อออกแรง
ในผู้ที่สัมผัสฝุ่นที่มีซิลิก้าในปริมาณมากในขณะทำงาน อาจทำให้เกิดอาการเฉียบพลันหลังทำงานไปแล้วเป็นเดือนและไม่เกิน 5 ปี เริ่มมีอาการหอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ไอเรื้อรัง และเริ่มมีอาการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน
การตรวจสุขภาพเพื่อการคัดกรองความเสี่ยง
ซักประวัติการทำงานในอดีตจนถึงปัจจุบัน การรับสัมผัสฝุ่นซิลิก้า พฤติกรรมการป้องกันตนเอง การสูบบุหรี่ ประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว เป็นต้น และควรบันทึกผลการตรวจสุขภาพลงในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างทุกครั้ง ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ทุกปี เพื่อติดตามดูปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกจากปอดในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ จากตำแหน่งหายใจเข้าเต็มที่ (FEV1: forced expiratory in one second) มีหน่วยเป็นลิตร หากพบว่าค่าวัดได้ลดลง 500 ลิตร/วินาที ใน 1 ปี หรือ 500 ลิตร/วินาที ภายใน 5 ปี ควรส่งปรึกษาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ตรวจภาพรังสีทรวงอกด้วยฟิล์มมาตรฐาน อ่านผลตามตามเกณฑ์มาตรฐานองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ ILO 2000 โดยแพทย์รังสี และหรือแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ผ่านการอบรมกับสถาบันโรคทรวงอก ในหลักสูตรการอ่านฟิล์มโรคปอดนิวโมโคนิโอซิส
การสังเกตอาการเบื้องต้น
มีอาการของระบบทางเดินหายใจได้แก่ ไอเรื้อรัง หอบ เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง เป็นต้น
การป้องกัน เพื่อดูแลตนเอง
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสูดหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิก้าเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จำเป็นต้องใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการป้องกันหรือลดปริมาณฝุ่นซิลิก้าที่มีอยู่ในบรรยากาศการทำงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย การป้องกันสามารถทำได้ดังนี้
บรรณานุกรม
1. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้น สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่1: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน เมืองแพร่การพิมพ์, 2553.
2. www.hes.gov.uk/pubn3/quidance/g404.pdf
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++